พระเจดีย์สุนันทวนารามมหาเจดีย์
วัดสุนันทวนารามและคณะศิษยานุศิษย์มีความปีติในการเสด็จมาของพระบรมสารีริกธาตุจากกบิลพัสดุ์สู่วัดสุนันทวนาราม จึงพร้อมร่วมแรงร่วมใจเพื่อให้มีการสร้างพระเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ในการนี้ อาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม(แบบร่วมสมัย) และประธานบริษัท สถาปนิก ๔๙ จำกัด อดีตนายกสมาคมสถาปนิกแห่งประเทศไทย ได้มีจิตศรัทธาออกแบบทางสถาปัตยกรรมและโครงสร้างพระเจดีย์ขึ้นอย่างงดงามถวายแก่วัดสุนันทวนาราม
ขนาดขององค์เจดีย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๒ เมตร สูง ๑๙.๙๙ เมตร ลานรอบเจดีย์ขนาดพื้นที่ ๑,๑๕๖ ตารางเมตร องค์เจดีย์ปิดด้วยโมเสกแก้ว สีแดงเข้ม(สีแดงไทย) ภายในจะมีบุษบกและเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสุนันทปรมาภิมงคล ซึ่งปั้นโดย อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(ประติมากรรม) ภายในกำแพงทั้งสี่ด้านจะเป็นการแสดงภาพจิตกรรมฝาผนังโดย อ.สาคร โสภาซึ่งจะบรรยายถึงพุทธประวัติในช่วงเวลาที่จัดพิธีถวายพระเพลิงพระสรีระขึ้นที่เมืองกุสินารา ค้นพบพระบรม-สารีริกธาตุ โดยนายวิลเลียม แคลคสตัน เปปเป รัฐบาลอังกฤษส่งมอบให้ประเทศไทย ในสมัย ร.๕ และประวัติวัดสุนันทวนาราม
credit: http://www.watpahsunan.org/place/6.html
ภายในพระมหาเจดีย์ บรรจุพระสารีริกธาตุ
และภาพเขียนฝาผนัง
ในพุทธศักราชที่ ๑ หลังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๗ วัน ก็ได้จัดพิธีถวายพระเพลิงพระสรีระขึ้นที่เมืองกุสินารา เมื่อเสร็จสิ้นพิธี กษัตริย์จากแว่นแคว้นต่างๆ ล้วนปรารถนาที่จะขอแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุไปสักการบูชายังเมืองของตน แต่กษัตริย์มัลละแห่งกรุงกุสินาราไม่ยอม จึงเป็นเหตุให้กษัตริย์เมืองอื่นๆ ขู่ทำศึกแย่งชิงโทณพราหมน์จึงออกมาห้ามปรามมิให้รบพุ่งฆ่าฟันกันและให้แบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุแก่ทุกเมืองอย่างเท่าเทียมกัน บรรดากษัตริย์ที่ได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปได้แก่พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ กษัตริย์ลิจฉวีเมืองเวสาลี กษัตริย์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ กษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม กษัตริย์ถูลีเมืองอัลลกัปปะ กษัตริย์มัลละเมืองปาวาและพราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปะ
เวลาล่วงเลยไป ๒๔๔๐ ปี นายวิลเลียม แคลคสตัน เปปเป ได้ขุดพบสถูปโบราณซึ่งภายในบรรจุผอบพระบรม-สารีริกธาตุของราชวงศ์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ โดยบนผอบมีอักษรพราหมณ์จารึกไว้ โดยถอดความได้ว่า“อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ” “ที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านี้ เป็นของศากยราชสุกิติ กับพระภาตาพร้อมทั้งพระภคินี พระโอรสและพระชายา สร้างขึ้นอุทิศถวายไว้”
ทางรัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองประเทศอินเดียอยู่ในขณะนั้น จึงได้ทูลเกล้าถวายพระบรมสารีริธาตุที่ขุดพบแด่่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงทำนุบำรุงยกย่องพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งขอพระราชทานให้พระองค์ทรงเป็นผู้แจกแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ประเทศพม่า ศรีลังกา รัสเซียและญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่นับถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาสืบต่อไป สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแต่งตั้งให้มหาอำมาตย์เอกนายกเจ้าพระยายมราช ซึ่งสมัยนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต เป็นหัวหน้าคณะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดียมาสู่ประเทศไทย เมื่อพระยาสุขุมนัยวินิตได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อนำไปแจกแบ่งแก่ประเทศต่างๆและนำไปประดิษฐานยังพระเจดีย์บรมบรรพต(ภูเขาทอง) วัดสระเกศแล้ว สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานห่อผ้าที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแก่พระยาสุขุมนัยวินิตเพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ ซึ่งต่อมาได้เกิดเหตุอัศจรรย์มีแสงเรืองรองออกมาจากห้องที่เก็บห่อผ้านั้น เมื่อเข้าไปดูก็พบว่ามีพระบรมสารีริกธาตุตกค้างอยู่ในห่อผ้า พระยาสุขุมนัยวินิตจึงได้นำไปถวายคืนแก่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ยืนยันว่าได้นำพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดออกมาด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองจนหมดแล้ว จึงได้พระราชทานอนุญาตให้พระยาสุขุมนัยวินิตเก็บพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลืออยู่นั้นไว้สักการบูชาเป็นสมบัติประจำตระกูลสืบไป
เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕ คุณพิมพ์ใจ ณ สงขลา อุบาสิกาของวัดสุนันทวนาราม ได้เป็นตัวแทนของคุณยาย คือ นางสุคนธา ณ สงขลา ทายาทของมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยายมราช ถวายพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองกบิลพัสดุ์ที่ได้รับพระราชทานเป็นสมบัติของตระกูลสืบมาแต่เมื่อครั้งอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย แด่พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม ซึ่งคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์วัดสุนันทวนาราม พิจารณาเห็นพ้องกันในอันพึงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ไว้ในที่อันสมควร จึงได้จัดสร้างพระเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจาก เมืองกบิลพัสดุ์ ออกแบบถวายโดยอาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ ประธานบริษัทสถาปนิก ๔๙ จำกัด งานก่อสร้างกำหนดเริ่มตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๗ จนแล้วเสร็จ และทำพิธีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสู่ยอดเจดีย์ในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ในพุทธศักราชที่ ๑ หลังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๗ วัน ก็ได้จัดพิธีถวายพระเพลิงพระสรีระขึ้นที่เมืองกุสินารา เมื่อเสร็จสิ้นพิธี กษัตริย์จากแว่นแคว้นต่างๆ ล้วนปรารถนาที่จะขอแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุไปสักการบูชายังเมืองของตน แต่กษัตริย์มัลละแห่งกรุงกุสินาราไม่ยอม จึงเป็นเหตุให้กษัตริย์เมืองอื่นๆ ขู่ทำศึกแย่งชิงโทณพราหมน์จึงออกมาห้ามปรามมิให้รบพุ่งฆ่าฟันกันและให้แบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุแก่ทุกเมืองอย่างเท่าเทียมกัน บรรดากษัตริย์ที่ได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปได้แก่พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ กษัตริย์ลิจฉวีเมืองเวสาลี กษัตริย์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ กษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม กษัตริย์ถูลีเมืองอัลลกัปปะ กษัตริย์มัลละเมืองปาวาและพราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปะ
เวลาล่วงเลยไป ๒๔๔๐ ปี นายวิลเลียม แคลคสตัน เปปเป ได้ขุดพบสถูปโบราณซึ่งภายในบรรจุผอบพระบรม-สารีริกธาตุของราชวงศ์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ โดยบนผอบมีอักษรพราหมณ์จารึกไว้ โดยถอดความได้ว่า“อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ” “ที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านี้ เป็นของศากยราชสุกิติ กับพระภาตาพร้อมทั้งพระภคินี พระโอรสและพระชายา สร้างขึ้นอุทิศถวายไว้”
ทางรัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองประเทศอินเดียอยู่ในขณะนั้น จึงได้ทูลเกล้าถวายพระบรมสารีริธาตุที่ขุดพบแด่่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงทำนุบำรุงยกย่องพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งขอพระราชทานให้พระองค์ทรงเป็นผู้แจกแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ประเทศพม่า ศรีลังกา รัสเซียและญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่นับถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาสืบต่อไป สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแต่งตั้งให้มหาอำมาตย์เอกนายกเจ้าพระยายมราช ซึ่งสมัยนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต เป็นหัวหน้าคณะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดียมาสู่ประเทศไทย เมื่อพระยาสุขุมนัยวินิตได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อนำไปแจกแบ่งแก่ประเทศต่างๆและนำไปประดิษฐานยังพระเจดีย์บรมบรรพต(ภูเขาทอง) วัดสระเกศแล้ว สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานห่อผ้าที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแก่พระยาสุขุมนัยวินิตเพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ ซึ่งต่อมาได้เกิดเหตุอัศจรรย์มีแสงเรืองรองออกมาจากห้องที่เก็บห่อผ้านั้น เมื่อเข้าไปดูก็พบว่ามีพระบรมสารีริกธาตุตกค้างอยู่ในห่อผ้า พระยาสุขุมนัยวินิตจึงได้นำไปถวายคืนแก่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ยืนยันว่าได้นำพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดออกมาด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองจนหมดแล้ว จึงได้พระราชทานอนุญาตให้พระยาสุขุมนัยวินิตเก็บพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลืออยู่นั้นไว้สักการบูชาเป็นสมบัติประจำตระกูลสืบไป
เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕ คุณพิมพ์ใจ ณ สงขลา อุบาสิกาของวัดสุนันทวนาราม ได้เป็นตัวแทนของคุณยาย คือ นางสุคนธา ณ สงขลา ทายาทของมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยายมราช ถวายพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองกบิลพัสดุ์ที่ได้รับพระราชทานเป็นสมบัติของตระกูลสืบมาแต่เมื่อครั้งอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย แด่พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม ซึ่งคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์วัดสุนันทวนาราม พิจารณาเห็นพ้องกันในอันพึงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ไว้ในที่อันสมควร จึงได้จัดสร้างพระเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจาก เมืองกบิลพัสดุ์ ออกแบบถวายโดยอาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ ประธานบริษัทสถาปนิก ๔๙ จำกัด งานก่อสร้างกำหนดเริ่มตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๗ จนแล้วเสร็จ และทำพิธีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสู่ยอดเจดีย์ในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
No comments:
Post a Comment