April 12, 2014

Prince Mahidol Hall - มหิดลสิทธาคาร

มหิดลสิทธาคาร - Prince Mahidol Hall

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา







 บริเวณโถงหลักของอาคาร

อาคารหอประชุมใหญ่มหิดลสิทธาคาร ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาคารก่อสร้างบนเนื้อที่ 54 ไร่  เป็นอาคารสูง 5 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 31,426 ตารางเมตร วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาคารศูนย์การเรียนรู้และปฏิบัติการด้านดนตรี จัดประชุมและสัมมนาระดับชาติและนานาชาติ จัดกิจกรรมบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างสุขภาวะแก่สังคมและเพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับชุมชนและประชาชนโดยรอบจังหวัดนครปฐม ปริมณฑลด้านตะวันตก รวมถึงภูมิภาคตะวันตก  

โดยพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารประกอบด้วย ห้องประชุมใหญ่ ความจุประมาณ 3,000 ที่นั่ง (มีจำนวนที่นั่งใกล้เคียงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) หอเฉลิมพระเกียรติ ส่วนจัดแสดงออร์เคสตรา (ORCHESTRA PIT) ห้องที่ประทับ ห้องจัดนิทรรศการ และส่วน service อาทิเช่น ห้องซ้อม ห้องพักนักแสดง ห้องเครื่อง และที่จอดรถใต้ดินจำนวน 152 คัน

     สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารหอประชุมใหญ่มหิดลสิทธาคาร เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2549 วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพระราชทานปริญญาบัตรและใช้ในการงานแสดงต่างๆของมหาวิทยาลัย โดยได้แบบที่ชนะการประกวดจากบริษัท A49 และเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้ประมาณปลายปี 2556 ที่มาของรูปร่างแปลกตาของอาคารที่มีลักษณะคล้ายโครงร่างใบไม้นั้นได้แนวคิดการออกแบบมาจากโครงสร้างเชิงกายภาพของพืชและมนุษย์ ผสมผสานกับรูปแบบตราสัญลักษณ์ ต้นกันภัยมหิดล และสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งสะท้อนถึงความสง่างามและแสดงให้เห็นถึงรากฐานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีที่มาจากแพทยศาสตร์ ปัจจุบันการก่อสร้างอาคารโดยรวมแล้วเสร็จเกือบจะสมบูรณ์แต่ยังอยู่ในขั้นตอนของการติดตั้งงานระบบต่างๆ วัสดุตกแต่งผิวและส่วนของการตกแต่งภายใน

source: SCG Blog

แนวคิดในการออกแบบ   รูปแบบทางสถาปัตยกรรมมีแนวคิดมาจากโครงสร้างเชิงกายภาพของพืชและมนุษย์ ผสมผสานกับรูปแบบตราสัญลักษณ์ ต้นกันภัยมหิดล และสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งสะท้อนถึงความสง่างามและแสดงให้เห็นถึงมหิดลที่มีรากฐานมาจากแพทยศาสตร์

ลักษณะพิเศษของอาคาร

งานสถาปัตยกรรม ออกแบบเป็นหลังคา 2 ชั้นและใช้วัสดุพิเศษเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ผนังภายในติดตั้งวัสดุที่มีคุณภาพพิเศษด้าน ACOUSTIC ฝ้าเพดานมีรูปแบบและใช้วัสดุเพื่อผลการได้ยินที่ถูกต้องตามกิจกรรมการแสดง พื้นเวทีเป็นพื้นไม้พิเศษที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ส่วนโถงรับรองและทางเดินโดยรอบอาคารออกแบบให้นำแสงธรรมชาติมาใช้

งานวิศวกรรมโครงสร้าง โครงสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ ปราศจากเสากลางเพื่อรองรับหลังคาด้านบน โดยเน้นการแสดงโครงสร้างที่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้อย่างชัดเจน

งานระบบวิศวกรรม ออกแบบระบบปรับอากาศภายในห้องประชุมแบบ DISPLACEMENT คือลมเย็นจ่ายออกจากพื้น
อาคารบริเวณใต้ที่นั่งผู้ชม ซึ่งจะไม่สูญเสียพลังงานไปกับพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ที่อยู่เหนือขึ้นไป

ระบบพิเศษประกอบอาคาร ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบโรงละครจากประเทศอังกฤษ ระบบแสง เสียง เวที และระบบ ACOUSTIC สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการใช้งานประเภทต่างๆ โดยผู้ชมจะได้อรรถรสทางเสียงเสมือนกันทุกที่นั่ง พื้นของแถวที่นั่งออกแบบเป็นพื้นที่ต่างระดับซ้อนเหลื่อมกันในลักษณะ BALCONY อย่างน้อย 3 ชั้น เพื่อให้ทุกที่นั่งสามารถมองเห็นกิจกรรมบนเวทีได้อย่างชัดเจน ระบบลิฟต์บนเวที(STAGE ELEVATOR) ลิฟต์ของวงดนตรี (ORCHESTRA ELEVATOR) รวมทั้งระบบฉากและ CATWALK ต่างๆ ที่อยู่เหนือเวที ถูกออกแบบเป็นพิเศษ
องค์ประกอบอาคาร  เป็นอาคารสูง 5 ชั้น ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 31,426.37 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องประชุมใหญ่ความจุ 2,002 ที่นั่ง หอเฉลิมพระเกียรติ ORCHESTRA PIT เวที ห้องที่ประทับ ห้องจัดนิทรรศการ ห้องซ้อม ห้องพักนักแสดง ห้องเครื่อง และที่จอดรถใต้ดินจำนวน 152 คัน
การดำเนินการ  ระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน เริ่มดำเนินการก่อสร้างประมาณเดือนกันยายน 2552 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555







 พื้นที่ drop off area ด้านข้างของอาคาร


วัสดุหลังคา copper shingle

No comments:

Post a Comment